วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

แผนที่ร้านบ้านสวนทองหวั่น

แผนที่นี้จะกำหนดเส้นทาง
จากวิทยาลัยประมง มาถึงร้านผมครับ
ร้านผมอยู่ ถนนติณสูลานนท์
ปากซอยทองหวั่นอุทิศ3 นะครับ


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

มีจำหน่ายนะครับ

สนใจต้นไหนแวะมาอุดหนุนได้นะครับ
เพิ่งลงใหม่ 3 ต้น แรกนะครับ



ต้นข้าวตอกพระร่วงใบใหญ่


ต้นพุดตะแคง



ต้นแย้มปีนัง






ต้นสนเลื้อย


ต้นสยามออรอร่า







ต้นเศรษฐีเรือนนอก


ต้นอโกลนีมา Aglaonema


ต้นคล้าเเตงโม


ต้นนางพญาค้าทอง




ต้นเสน่ห์ขุนเเผน


ต้นฟิโลทอง




ต้นออมเงิน



ต้นเเววมยุรา


ต้นบังลังก์เงิน


ต้นชวนชม


ต้นบัลลังก์ทับทิม


ต้นเศรษฐีก้านทอง



ต้นเข็มแดง


ต้นขันหมากราชา



ต้นเศรษฐีมีทรัพย์ หรือ ต้นเศรษฐีรินเงิน

ต้นหัวใจโฮย่า

พันธุ์ไม้แขวนสวยๆที่ทางร้านมีจำหน่าย

Pepperomia (เป็ปเปอร์โรเมีย)

เป็ปเปอร์โรเมีย เป็นพืชที่มีมากมายหลายชนิด 
ส่วนใหญ่เป็นไม้ประดับในร่ม เป็นพันธุ์ไม้ที่มีขนาดเล็กขึ้น 
หนาแน่นเป็นกอ มีใบค่อยข้างหนาและเป็นมันเงา มีสีต่างๆ กัน 
ส่วนใหญ่เป็นสีเรียบๆ ไม่ค่อยฉูดฉาดรูปใบ
ส่วนมากไม่มีแฉกหรือรอยเว้าขอบใบเรียบดอกมีลักษณะคล้ายดอกพริกเป็ปเปอร์โรเมีย
เป็นไม้ที่ชอบความชุ่มชื้นและแสงสว่าง 
ถ้าปลูกประดับไว้ในมุมที่แสงสว่างไม่พอจะทำให้ใบมีสีซีดไม่สวย 

ต้นไก่ลาย

ว่านเศรษฐีเรือนใน (ไม้มงคล)

ลักษณะทั่วไป

ลักษณะเช่นเดียวกับเศรษฐีเรือนนอก และเศรษฐีเรือนกลาง ใบมีลักษณะเดียวกับเศรษฐีเรือนนอก 

แต่ลายด่างขาวหรือขาวนวลจะอยู่ส่วนกลางใบ ขอบใบเป็นสีเขียว 
ออกดอกเหมือนกับว่านเศรษฐีเรือนกลาง

การปลูก

ควรปลูกในดินร่วนซุย หรือดินปนทราย ที่ระบายน้ำได้ดี หากมีอิฐหักหรือหินเล็กๆ ปนลงไปด้วยจะช่วยให้แตกกอเร็วขึ้น ต้องการน้ำปานกลางสม่ำเสมอ ความชื้นสูง แดดรำไร จะปลูกลงกระถางแขวน หรือกระถางทรงเตี้ยปากกว้างก็สวยงามดี

การขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ หรือใช้ต้นอ่อนที่เกิดจากไหลไปปลูกใหม่

ความเป็นมงคล

ว่านเศรษฐีเรือนใน มีสรรพคุณด้านเสี่ยงทายและป้องกันภัยอันตรายทั้งปวง 

เช่นเดียวกับว่านเศรษฐีเรือนนอก และเศรษฐีเรือนกลาง 

ต้นผีเสื้อราตรี
เป็นพืชล้มลุก  มีหัว  มีใบประกอบคล้ายนิ้วมือ  มักจะหุบใบในเวลากลางคืน
ใบ  -  ลักษณะใบประกอบคล้ายสามเหลี่ยม  โดยมีมุมแหลมชนกัน  มีสีชมพู - ม่วง
ดอก  -  ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว  โดยก้านดอกออกจากก้านลำต้น 
 มีสีชมพูม่วง  มีกลีบดอก  5 กลีบ  เป็นดอกสมบูรณ์เพศ  มีเกสรตัวผู้ 5-6 ตัว
 
การดูแลรักษา
แสง                            ต้องการแสงมาก เมื่อได้รับแสงสีของใบก็จะสดใสน่ามองยิ่งขึ้น
น้ำ                              ให้น้ำพอประมาณ อย่าให้เปียกแฉะมากเกินไป
ดิน                              เจริญเติบโตได้ในดินร่วนซุย
ปุ๋ย                              ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เพราะจะช่วยทำให้ดินร่วนซุย
การขยายพันธ์          หน่อ 

ตะบองเพชรหรือCactus


  ตะบองเพชรหรือแคทตัสที่เรารู้จักทั่วไปเป็นต้นไม้ยืนต้นที่น่าสนใจเพราะเด่นสะดุดตาเนื่องจากมีหนามหรือตุ่มหนามปกคลุมทั่วต้น ลำต้นมีรูปร่างอวบสั้น เพราะมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ภายใน ดอกไม่มีก้านดอก แต่มีสีสันสดสวย และกลีบดอกบอบบาง ต้นตะบองเพชรที่ปลูกตามบ้านอาจมีรูปร่างแตกต่างกันมากมายเช่นเป็นรูปทรงกลมหรือทรงกระบอก บ้างชอบขึ้นเดี่ยว บ้างก็ขึ้นเป็นกลุ่ม ตะบองเพชรบางพันธุ์มีขนาดต้นเล็กกะทัดรัด แต่บางพันธุ์ก็สูงใหญ่ถึง 24เมตร ตะบองเพชรบางพันธุ์ไม่มีใบ เพราะใบได้กลายเป็นรูปเป็นหนาม ทั้งนี้ก็เพื่อลดการคายน้ำของต้น และใช้หนามในการป้องกันอันตรายจากสัตว์และคน
ตามปกติตะบองเพชรเป็นพืชที่ชอบขึ้นในที่ที่มีอากาศร้อนแห้งแล้งความทนทานเช่นนี้ทำให้มันสามารถเติบโตงอกงามได้ในทุกสภาพพื้นที่เช่น ชายทะเล ทุ่งหญ้าในป่าที่มีความชื้นสูง ภูเขา หรือตามไหล่เขา และแม้แต่ในทะเลทรายก็มีตะบองเพชรเช่นกัน มันชอบดินโปร่งที่ร่วน เพราะน้ำสามารถไหลผ่านรากมันได้สะดวก การมีขี้เถ้าแกลบ ปุ๋ยดอก อิฐหัก หรือกระดูกป่นในดินที่ใช้ปลูกก็สามารถทำให้ตะบองเพชรเติบโตได้ดี แต่จะอย่างไรก็ตาม ชาวไร่ตะบองเพชรก็รู้ดีว่า ต้นไม้ของตนจะงอกไม่งาม ถ้าต้นขาดน้ำ ดังนั้น เขาจึงนิยมรดน้ำให้ถึงรากและเริ่มรดครั้งต่อไป เมื่อดินเริ่มแห้งข้อควรระวังอีกประการหนึ่งคือตะบองเพชรไม่ชอบดินที่มีน้ำขังหรือดินแฉะ   
นอกจากนี้ชาวไร่ก็ต้องควบคุมแสงแดดให้พอเหมาะพอดีด้วย เพราะแสงที่เหมาะกับต้นอ่อนคือ แสงแดดในยามเช้าและบ่ายที่แดดไม่ร้อนจัด การได้แสงที่มากไป จะทำให้ต้นแห้งตาย แต่หากได้รับแสงพอเหมาะต้นอ่อนจะเจริญงอกงาม เมื่อเหตุและผลเป็นเช่นนี้ ดังนั้น ชาวไร่หลายคนจึงนิยมปลูกตะบองเพชรในเรือนกระจก เพราะสามารถควบคุมอุณหภูมิที่ระดับ 27-32 องศาเซลเซียสได้
ในการให้ปุ๋ยก็เช่นกัน ถ้าให้มากไปสีของต้นจะเปลี่ยน คืออาจจะเขียวมากขึ้นได้ ดังนั้น ชาวไร่จึงต้องระมัดระวังไม่ให้ปุ๋ยเกิน ครั้งใน 1-2 สัปดาห์ และต้องระมัดระวังไม่ให้ความเข้มข้นของปุ๋ยสูงเกินไปด้วย

ตะบองเพชรหรือCactus
ที่ร้านบ้านสวนทองหวั่น 
มาอุดหนุนกันได้นะครับ













วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555

วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2555

ผลผลิตสวยงามเมื่อใช้น้ำหมักชีวิตภาพที่ผมหมักเอง

ผลผลิตสวยงามครับ
ให้ผลดี โตกว่าก่อน
เห็นแล้วอยากซื้อไปทดลองดูไหมครับ
ผมหมักเอง รับประกันคุณภาพครับ


รูปหน่อไม้ที่บ้านผมครับ 

เทคนิคการบำรุงหน่อไม้ไผ่เลี้ยง
ใช้เศษหญ้า หรือ ฟางแห้ง มาคลุมโคนต้นไผ่ไว้ แล้วรดน้ำ สัปดาห์ละ2-3ครั้ง 
เพื่อเป็นการรักษาความชื้นไว้ให้สม่ำเสมอ
บำรุงด้วยปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ สัปดาห์ละครั้ง
บำรุงปุ๋ยขี้หมู + น้ำแม่ ฉีดพ่นเดือนละ 1 ครั้ง จะช่วยให้หน่อไม้ออกผลผลิตดีต่อเนื่องตลอดทั้งปี


มะพร้าวน้ำหอม ปลูกเองครับ ผลสวย น้ำหอม หวานครับ
มะพร้าวน้ำหอมเป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่ง ที่มีอนาคตสดใสในด้านการส่งออก 
มะพร้าวน้ำหอมถูกนำมาแปรรูปในโรงงานอุตสาหกรรมประเภทเครื่องดื่มมากขึ้น เพราะมีรสชาติหวาน กลิ่นหอม ปัจจุบันตลาดต่างประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น 
เริ่มรู้จักและนิยมบริโภคมะพร้าวน้ำหอมกันมากขึ้น
การเพิ่มปุ๋ย ปุ๋ยที่ใส่ได้แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ความสำคัญของการใส่ปุ๋ยนั้น จะช่วยเพิ่มผลผลิตของมะพร้าวน้ำหอมได้ถึง 5,000-6,000 ผล/ไร่/ปี ยิ่งถ้าปลูกแบบยกร่องมีน้ำใช้ตลอดปี ยิ่งจะเพิ่มผลผลิตได้ถึง 8,000-9,000 ผล/ปี และจากการศึกษาพบว่าปุ๋ยที่เหมาะกับการปลูกมะพร้าวน้ำหอม คือ 
ปุ๋ยเกรด 13-13-21 (แมกนีเซียมซัลเฟต) และปุ๋ยเกรด 12-12-17-2 (ปุ๋ยหินปูนโดโลไมท์) การใส่ปุ๋ยนั้น ควรคำนึงถึงสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินด้วย คือ ในสภาพดินมีความเป็นด่างให้ใส่ปุ๋ยแมกนีเซียม ซัลเฟต และหากสภาพดินมีความเป็นกรดให้ใช้ปุ๋ยโดโลไมท์ โดยให้ก่อนหรือหลังใส่ปุ๋ยเคมีประมาณ 1 เดือน แต่ทางที่ดีใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพด้วยดีกว่าครับ 
ฤดูที่เหมาะสมในการใส่ปุ๋ยให้แก่มะพร้าว คือ ในช่วงต้นและปลายฤดูฝน


กล้วยในสวนของผมเอง ผมสังเกตว่าผลจะอวบตึงขึ้น
ดูน่ารับประทานครับ
การใส่ปุ๋ยมีผลต่อการเจริญเติบโตของกล้วยมาก กล่าวคือจะช่วยให้ลำต้นอวบแข็งแรง ตกเครือเร็ว
และได้ผลโต การเจริญเติบโดของกล้วยแบ่งออกเป็น 3 ระยะครับ คือ 

ระยะที่ 1 เริ่มนับตั้งแต่ต้นกล้วยตั้งตัวหลังการปลูก 
ระยะนี้เป็นเวลาที่กล้วต้องการอาหารมากเครือหนึ่ง จะมีผมกี่ผลนั้น อยู่ที่ความสมบูรณ์ของดิน

ระยะที่ 2 อยู่ระหว่างหลังตั้งตัวได้จนถึงก่อนตกเครือเล็กน้อย 
ระยะนี้กล้วยไม่ใช้อาหารมาก อาหาร ๆ ต่าง จะถูกใช้โดยหน่อที่เริ่มแตกขึ้นมา

ระยะที่ 3 เป็นระยะจากตกเครือจนกล้วยแก่ 
เป็นระยะที่กล้วยต้องการอาหารมากเหมือนกัน ให้บำรุงด้วยปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ สัปดาห์ละครั้ง
บำรุงปุ๋ยขี้หมู + น้ำแม่ ฉีดพ่นเดือนละ 1 ครั้งครับ