วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

น้ำหมักชีวภาพคืออะไร

มนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์เป็นทางสร้างสรรค์ขิงจุลินทรีย์พื้นบ้านกันมานานหลายพันปีแล้ว ซึ่งเทคโนโลยีการหมักนี้เป็นการใช้ภูมิปัญญาพื้นถิ่นของทั่วโลก เช่น ซีอิ๊ว เต้าเจี้ยว มิโสะ ข้าวหมาก กะปิ ปลาร้า เบียร์ ไวน์ ขนมปัง โยเกริ์ต  ซีส เป็นต้น
น้ำหมักชีวภาพ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพอย่างง่าย ๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ทุกคนสามารถผลิตได้ด้วยตนเองและใช้ต้นทุนต่ำ โดยอาศัยขบวนการหมัก ใช้การทำงานของจุลินทรีย์พื้นบ้านในกลุ่มสร้างสรรค์ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในธรรมชาติรอบตัวเรา

มีอะไรสำคัญในน้ำหมักชีวภาพ
น้ำหมักชีวภาพ มีลักษณะเป็นของเหลว หรือน้ำสีน้ำตาลอมเหลือง มีฤทธิ์เป็นกรด จึงมีรสเปรี้ยวและกลิ่นส้มฉุนของน้ำส้มสายชู รวมทั้งมีรสฝาดขมและกลิ่นคล้ายส่าเหล้ารวมอยู่ด้วย
ในน้ำหมักชีวภาพประกอบด้วย กลุ่มจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ และสารอาหารต่าง ๆ มากมายในรูปกรดอะมิโน กรดอินทรีย์ น้ำตาลกลูโคส วิตามิน เกลือแร่ ฮอร์โมน เอ็นไซม์ ฯลฯ ซึ่งมีธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปรคัสเซียม อยู่ครบถ้วน ล้วนเป็นธาตุอาหารที่ดีแก่พืช สามารถนำไปใช้โดยตรงได้ทันที ดังนั้น การนำน้ำหมักชีวภาพไปใช้ในการกสิกรรม จึงสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากกว่าการกสิกรรมสารพิษที่ใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลงศัตรูพืช และยาฆ่าหญ้า หลายเท่าตัว
กล่าวคือ น้ำหมักชีวภาพมีสภาพเป็นของเหลว ประกอบด้วยสารที่มีประจุไฟฟ้าต่าง ๆ จึงดึงดูดธาตุอาหารของพืชที่มีประจุไฟฟ้า เช่น แอมโมเนียมอิออน ไนเตรทอิออน เข้าสู่ทางรากพืชส่วนกรดอะมิโนและกรดอินทรีย์ พืชจะดูดเข้าไปเปลี่ยนเป็นโปรตีนและน้ำตาลที่นำไปใช้ได้ทันที พืชไม่ต้องเสียพลังงานในการสังเคราะห์ขึ้นมาอีก จึงนำพลังงานที่เหลือมาใช้ในการเจริญเติบโตด้านอื่น ๆ แทน พืชจึงเจริญเติบโตได้ไว แข็งแรง ไม่มีโรคระบาดและแมลงรบกวนมาก ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศได้นาน สามารถให้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณสูงขึ้น
นอกจากนี้ สารที่มีประจุไฟฟ้ายังเลียนแบบธรรมชาติโดยดึงดูดเม็ดดินมาหุ้มรอบ ๆ ตัวทำให้เม็ดดินที่แน่นแข็งแรงกลายเป็นเม็ดดินขนาดใหญ่ขึ้น มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้สะดวก ดินจึงร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดีขึ้น

ประโยชน์จากกลุ่มจุลินทรีย์ในน้ำหมักชีวภาพ
 กลุ่มจุลินทรีย์สร้างสรรค์ เช่น ราที่เป็นประโยชน์ จะสานตัวเป็นเส้นใยช่วยห่อหุ้มเม็ดดินไว้ แอคติโนมัยชีทส์ก็จะย่อยสลายอินทรีย์วัตถุที่ย่อยสลายยาก ๆ ให้เป็นฮิวมัส และสร้างสารแอนติไบโอติด มาฆ่าจุลินทรีย์ก่อโรคในดิน แบคทีเรียผลิตกรดแลคติก ช่วยสลายสารอาหารตกค้างในดินให้สลายน้ำจนพืชดูดซึมเอาไปใช้ได้ไนโตรเจนฟิกชิ่งแบคทีเรีย ช่วยตรึงก๊าซไนโตรเจนในอากาศให้เป็นสารไนเตรท หรือแอมโมเนีย เหมือนปฏิกริยาแบบฟ้าผ่า ซึ่งเป็นธาตุอาหารแก่พืชโดยตรง ยีสต์ช่วยสร้างวิตามินบี ๖ และ บี๑๒ ให้พืชส่วนแบคทีเรียสังเคราะห์แสง ช่วยย่อยสลายสารก่อมลพิษเน่าเหม็นให้กลายเป็นสารอาหารแก่พืช


ประสิทธิภาพในการใช้งานและอายุของน้ำหมักชีวภาพ
เคล็ดลับของการใช้น้ำหมักชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ คือ อายุของน้ำหมักชีวภาพ กล่าวคือ ยิ่งน้ำหมักชีวภาพมีอายุมากขึ้นเท่าใด ยิ่งมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นเท่านั้น
เหตุผล คือ ความหนาแน่นของปริมาณสารอาหารต่าง ๆ และโดยเฉพาะสารแอนดิออกซิแคนท์ เช่น วิตามินบี วิตามินอี เป็นต้น เพิ่มมากขึ้นทุกครั้งจากการทำงานของกลุ่มจุลินทรีย์ในน้ำหนักชีวภาพที่แข็งแรงขึ้นตามด้วย โดยอาศัยน้ำตาลเป็นอาหารในการเจริญเติบโตและขยายยพันธุ์ ส่วนน้ำเปรียบเหมือนบ้านช่วยเพิ่มเนื้อที่การทำงานให้ขยายกว้างขวางมากขึ้นในการเก็บและสะสมพลังในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ หากเปรียบเทียบกับน้ำหมักชีวภาพอายุ เดือน กับอายุ ปี ก็เปรียบเหมือนทารกที่มีกำลังน้อยกับผู้ใหญ่ที่มีพละกำลังมาก ย่อมทำงานเห็นผล และมีประสิทธิภาพแตกต่างกันอย่างชัดเจน
ดังนั้น จึงเน้นให้หมักขยายหัวเชื้อน้ำหมักทุก ๆ เดือนเสมอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน เช่น
น้ำหมักชีวภาพอายุ ปีขึ้นไป เหมาะกับการใช้งานด้านการเกษตร ด้านน้ำยาทำความสะอาดต่าง ๆ
น้ำหมักชีวภาพอายุ ปีขึ้นไป เหมาะกับงานด้านบำบัดน้ำเสีย กำจัดกลิ่นเหม็น สลายสารพิษตกค้าง
น้ำหมักชีวภาพ ปีขึ้นไป เหมาะกับงานด้านการเกษตร สิ่งแวดล้อม และการแพทย์ เป็นต้น

หมายเหตุ  :    ด้านน้ำยาทำความสะอาด ควรใช้เฉพาะผลไม้ เปลือกผลไม้เท่านั้น 
                      เพื่อให้มีกลิ่นหอมนำใช้

วัตถุดิบการทำน้ำหมักชีวภาพ

ในการทำน้ำหมักหรือน้ำสกัด หรือฮอร์โมน เป้รภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่นำวัตถุดิบซึ่งหาง่ายในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์
1.      พืชผักสด เช่น ผักบุ้ง หน่อไม้ หน่อกล้วย ตำลึง ตั่วงต่าง ๆ ควรเลือกส่วนที่เป็น
         ยอดเพราะมีฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตสูง
2.      ผลไม้สุก เช่น กล้วยน้ำว้า มะละกอสุก ฟักทอง ลูกตำลึง ลูกยอ มะม่วงหิมพานต์ 
         เลือกผลไม้ที่มีรสหวานจะให้ฮอร์โมนเร่งดอก  ผล
3.       เหง้าพืช เช่น เหง้ากล้วย สำปะหลัง ขิง ข่า ตะไคร้ กระชาย ฯลฯ
4.       ผลไม้ดิบ เช่น กล้วยน้ำว้า มะละกอ ตำลึง ขนุน ฯลฯ มีฮอร์โมนช่วยทำให้ลำต้
          แข็งแรงต้านทานโรค
5.       สมุนไพรกลิ่นฉุน หรือมีรสเผ็ด เช่น พญาไร้ใบ สาบเสือ พริกไทยแก่ ลูกลำโพง 
          ตะไคร้หอม ขิงแก่ ข่าแก่ กระเพรา ใบสะเดาแก่ หญ้างวงช้าง น้อยหน่า หนอนตาย
          ยากเป็นพืชที่มีสารช่วยป้องกันแมลง
6.       สมุนไพรรสขม หรือมีรสฝาด เช่น เปลือกมังคุด เปลือกมะหาด เปลือกต้นแค 
          เปลือกต้นหว้า ใบข่าไก่ บอระเพ็ด ลูกหมาก ฯลฯ
7.       แหล่งโปรตีน เช่น กากถั่วเหลือง กากถั่วต่าง ๆ เศษเนื้อ หรือ ปลาต่าง ๆ

การผลิตน้ำหมักชีวภาพ
ส่วนผสม
1. น้ำผึ้ง – น้ำตาลทรายแดงกากน้ำตาล                1  ส่วน
2.เศษผัก – ผลไม้ – สมุนไพร อินทรีย์วัตถุ )           3 ส่วน
3.น้ำสะอาด                                                            10 ส่วน

การหมักเพื่อดื่มใช้เฉพาะน้ำผึ้งหรือน้ำตาลทรายแดง
การหมักเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใช้กากน้ำตาล น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำผึ้ง

วัสดุและอุปกรณ์
1.        ขยะสด ได้แก่ เศษพืช ผัก ผลไม้ เปลือกผลไม้ เศษอาหารในครัวเรือน ก่อนจะบูดเน่าขึ้นราดำ ยกเว้นพลาสติก กระดาษ หนังยางรัดของ กระป๋องโลหะ ขวดแก้ว ฯลฯ ควรแยกออก นำไปขายเพิ่ม รายได้ก่อนทิ้ง
2.      น้ำตาล ควรใช้น้ำตาลอ้อย เพราะมีสารอาหารมาก หาซื้อได้ง่ายกว่ากากน้ำตาล โมลาส ซึ่งมีปัญหาเรื่องปูนขาวมาทำให้ดินแข็งเป็นดินดาน เกิดการอุดตันในชั้นใต้ดินในระยะยาว
3.      น้ำสะอาด ควรใช้น้ำฝนดีที่สุด น้ำกรอง น้ำปะปา น้ำแช่ข้าวเหนียว น้ำซาวข้าว น้ำต้มผัก หรือถั่วต่าง ๆ
4.      ภาชนะหมัก ควรใช้ภาชนะทึบแสงที่ฝาปิดสนิท เช่น ถังหรือถุงพาสติก โอ่งเคลือบ ยกเว้น ถังโลหะ

วิธีทำ
1.      นำถังภาสติกหรือโอ่งเคลือบ ไม่ควรใช้ถังที่เป็นโลหะ สังกะสี หรือโอ่งซีเมนต์ มีฝาปิด มาเตรียมไว้หมัก
2.      นำเศษผัก ผลไม้ สมุนไพร มาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
3.      เอาน้ำตาลทรายแดงหรือกากน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง ละลายกับน้ำสะอาดเข้าด้วยกันก่อนเทลงถังหมัก
4.      นำเศษผัก ผลไม้ สมุนไพร ที่หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วใส่ลงไป คนให้เข้ากันและกดเศษผักให้จม
5.      เว้นช่องว่างของถังไว้ ใน ส่วน เพื่อให้มีที่ในการหมุนเวียนอากาศ
6.      ปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม เย็นสบาย กันแดด กันฝน ที่สะอาดมีอากาศถ่ายเท
7.      ทำปฏิวัติติดข้างภาชนะ ชนิดของผลไม้ สมุนไพร วัน/เดือน/ปี ที่ผลิต
8.      ช่วง วันแรก หมั่นคอยสังเกตและตรวจดู ถ้าน้ำหมักมีสีดำ กลิ่นเหม็น รีบเติมน้ำตาลเพิ่ม ถ้ามี            
         หนอนปล่อยให้มันตายเอง เป็นการเพิ่มโปรตีนและแคลเซียมในน้ำหมัก
9.      ใช้เวลาหมักนาน เดือน ขึ้นไป ยิ่งนานยิ่งดีในการใช้
10.    สังเกตว่าน้ำที่ได้จากการหมักจะต้องมีสีน้ำตาลเหลือง มีกลิ่นน้ำส้มฉุน

ประโยชน์
1.      นำไปทำน้ำยาเอนกประสงค์ สบู่เหลว
2.      ปุ๋ยหมักชีวภาพ
3.      ใช้รดต้นไม้เป็นฮอร์โมนเร่งความเจริญเติบโต (น้ำหมัก ช้อนโต๊ะ ต่อ น้ำ ลิตร )
4.      ใส่ลงในส้วมเพื่อดับกลิ่น และทำให้ส้วมเต็มช้า
5.      บำบัดน้ำเสีย ปรับสภาพน้ำ
6.      เอาไปราดมูลสัตว์ต่าง ๆ เพื่อช่วยดับกลิ่น
7.      ถ้าไม่ผสมน้ำ ใช้พ่นหญ้าเป็นยาฆ่าหญ้าได้
8.      ใส่ในบ่อปลาป้องกันปลาเป็นโรค น้ำในบ่อจะสะอาด
9.      ฯลฯ 

การขยายหัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ
       ส่วนผสม
1. หัวเชื้อน้ำหมัก          1               ส่วน
2. น้ำตาล                     1                ส่วน
3. น้ำสะอาด                 8               ส่วน
       วิธีทำ
1.      ต้องละลายน้ำตาลกับน้ำก่อนเทหัวเชื้อน้ำหมักลงไปทุกครั้งเสมอ
2.      เว้นช่องว่างของถังไว้ ใน ส่วน เพื่อให้มีพื้นที่ในการหมุนเวียนอากาศ
3.      ปิดฝาให้สนิท จดวัน เดือน ปี ติดไว้
4.      ระยะเวลาหมัก เดือน
5.      หลังครบกำหนด เดือน นำน้ำหมักมาใช้ และควรเก็บส่วนหนึ่งไว้ขยายต่อเสมอทุก ๆ 
          2 เดือน

 ฮอร์โมนน้ำพ่อ
ทำจากผลไม้อย่างน้อย ชนิด
1. ฟักทอง              1               กก.
2. มะละกอสุก         1               กก.
3. กล้วยน้ำว้า         1               กก.
4. กากน้ำตาล         1               กก.
5. น้ำ                    10             ลิตร

วิธีหมัก     
หมักได้ แบบ
1.      หั่นผลไม้เป็นชิ้น ๆ คลุกกากน้ำตาล หมักไว้ในภาชนะพลาสติกสีทึบ ปิดฝา เก็บไว้ในที่ร่ม 15 วัน สังเกตได้ว่าจะมีราสีขาวเกิดขึ้น ให้ใส่น้ำเติมลงไปหมักอีกให้ครบ เดือน ยิ่งนานยิ่งดี )
2.      หั่นผลไม้เป็นชิ้น ๆ คลุกกากน้ำตาล พร้อมน้ำ 10 ลิตร หมักไว้ในภาชนะพลาสติกสีทึบ ปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม หมักไว้อย่างน้อย เดือน (ยิ่งนานยิ่งดี )


ฮอร์โมนน้ำแม่
ทำจากพืชสีเขียวอย่างน้อย ชนิด
1. ตระกูลผัก      1               กก.
2. ตระกูลหญ้า   1               กก.
3. ตระกูลถั่ว       1               กก.
4. กากน้ำตาล    1               กก.
5. น้ำ               10            ลิตร

วิธีหมัก        
หมักได้ แบบ
1.      หั่นพืชสีเขียวเป็นชิ้น ๆ คลุกกากน้ำตาล หมักไว้ในภาชนะพลาสติกสีทึบ ปิดฝา เก็บไว้ในที่ร่ม 15 วัน (สังเกตได้ว่าจะมีราสีขาวเกิดขึ้น ให้ใส่น้ำเติมลงไปหมักอีกให้ครบ เดือน ยิ่งนานยิ่งดี )
2.      หั่นพืชสีเขียวเป็นชิ้น ๆ คลุกกากน้ำตาล พร้อมน้ำ 10 ลิตร หมักไว้ในภาชนะพลาสติกสีทึบ ปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม หมักไว้อย่างน้อย เดือน ยิ่งนานยิ่งดี )


การผสมน้ำพ่อ-น้ำแม่
สูตรเร่งใบยอด ( N )
น้ำแม่                  10       ส่วน
-น้ำ                         1       ส่วน

สูตรเร่งดอก  ( P )
น้ำแม่                    5      ส่วน
-น้ำพ่อ                     5       ส่วน

สูตรเร่ง ผล รสชาติ  ( K )
น้ำแม่                    1         ส่วน
น้ำพ่อ                  10       ส่วน


วิธีใช้ 
น้ำ ปี๊บ ประมาณ 20 ลิตร ) + น้ำหมักฮอร์โมนที่ผสมตามสัดส่วนจำนวน ช้อน กากน้ำตาล ช้อน


สูตรน้ำฮอร์โมนบำรุงต้น
1.      น้ำแม่ สูตรบำรุงต้นเข้มข้น )

ยอดผักบุ้ง    +      หน่อไม้    +       หน่อกล้วย    +       กากน้ำตาล
1  กก.                   1  กก.                   1  กก.                   1  กก.

การใช้ประโยชน์
1.      ใช้หมักฟางในนาข้าว  ผสมน้ำสกัด ลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร/ไร่ โดยฉีดพ่นฟางแก้วในนาแล้ว    
          ไถกลบ
2.      ใช้ฉีดพ่นนาข้าวที่มีอายุ 15 วันขึ้นไป ให้ผสมน้ำสกัด 30-50 CC ( ประมาณ 3-5 ช้อนโต๊ะ ) / น้ำ 
         20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน
3.      ใช้ฉีดพ่นพืชผัก  ให้ผสมน้ำสกัด 15-20 CC ( ประมาณ ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ 
          หรือปล่อยไปผสมกับน้ำระบบปริงเกอร์ ทุก 15-20 วัน หรือผสมน้ำสกัด 30-50 CC  
          ( ประมาณ 3-5 ) ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20ลิตรรดด้วยน้ำทุก ๆ 15-20 วัน

2.      น้ำพ่อ (สูตรบำรุงดอก – ผลเข้มข้น )

กล้วยน้ำว้า   +     มะละกอสุก    +        ฟักทอง      +    กากน้ำตาล       
    1    กก.              1  กก.                             1 กก.                     1  กก.

การใช้ประโยชน์      
ใช้กับผักกินดอก – กินผล และไม้ผลต่าง ๆ ใช้ฉีดพ่นทางใบในระยะออกดอกและติดโดยผสมน้ำสกัด 15-20 CC ( 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร สลับกับการปล่อยไปกับน้ำระบบสปิงเกอร์ทุก ๆ 15-20 วันหรือรดด้วยบัวรดน้ำ โดยใช้น้ำสกัด 30-50 CC ( 3-5 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกๆ วัน


3.       น้ำทวด (สูตรบำรุงดอกและผลเข้มข้น )

พืชผักสด +  ผลไม้สุก +  แหล่งโปรตีน นมเปรี้ยว+   กากน้ำตาล
1  กก.               1 กก.                1 กก.          100CC        3 ..

การใช้ประโยชน์
1.      ใช้กับผักกินดอก – กินผล พืชไร่ และผลไม้ต่าง ๆ ในระยะออกดอกและติดผล
2.      ใช้กับต้นข้าวช่วงเริ่มตั้งท้อง โดยฉีดพ่นทางใบ ด้วยการใช้น้ำสกัด 30-50 CC  ( 3-5 ช้อนโต๊ะ )
          ต่อน้ำ 20ลิตรฉีดพ่นทุก ๆ วัน

4. น้ำปู่ (สูตรบำรุงใบและต้นเข้มข้น )

ลำต้น,เหง้า  +  ผลไม้ดิบ  +   หญ้าสด  +  แหล่งโปรตีน  +      กากน้ำตาล
1  กก.               1 กก.               1 กก.              1 กก.           3 กก

การใช้ประโยชน์     
ใช้บำรุงข้าว และพืชผักผลไม้ในระยะเร่งการเจริญเติบโตของใบและลำต้น โดยฉีดพ่นทางใบ หรือรดลงดินรอบบริเวณโคนต้น ด้วยดารใช้น้ำสกัด 30-50 CC ( 3-5 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือใส่บัวรดน้ำ ทุก ๆ 7วัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น